ในสังคมยุคนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การเรียนสูง มันไม่ใช่ประเด็นในการใช้ชีวิตอีกต่อไป เพราะถ้าเราทำงานไม่ดี หรืออยู่ร่วมกับสังคมการทำงานไม่ได้ นั้นก็แปลว่าเรานั้นทำงานไม่เป็น นี่จึงเป็นที่มาของประโยคที่ว่า "หมดยุคปริญญาแปะฝาบ้าน" ดังบทความที่จะกล่าวต่อไปนี้
ประเด็นแรกของเรื่องนี้คือ เรื่องการเรียน
ถ้าจะว่าไปว่า "การศึกษาบ้านเราเหมือนกับว่าเป็นเรื่องของคนที่เรียนเพียงคนเดียว" เรียนดีเรียนแย่ก็อยู่ที่คนนั้นเองทั้งสิ้นทั้งหมด พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พี่น้อง ช่วยอะไรไม่ได้เลย สถาบันที่เรียนบางครั้งจบมาก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการทำงานของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับประสบการณ์และฝีมือในการทำงานและใช้ชีวิตอยู่กับผู้อื่นล้วน
ถ้าผลการเรียนออกมาดี ก็มีแนวโน้มว่า "น่าจะทำงานเก่ง" เพราะกว่าจะจบมันต้องฝึกต้องฝนกันมากมายหลายกระบวนท่า แต่อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนในช่วงระหว่างที่กำลังเรียนอยู่นั้น มันฝึกฝนอยู่ในกรอบของสมมติฐานที่ว่า "ฝึกเพื่อเรียนรู้ ถ้าถูกก็แล้วไป แต่ถ้าผิดก็กลับไปแก้ไขใหม่จนกว่าจะดีขึ้น" ซึ่งเป็นหลักง่ายๆ ของชีวิตนักศึกษา เชื่อว่าเคยผ่านกันมาทุกคน
หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าในช่วงที่เรากำลังศึกษาอยู่นั้นหากเราคิดผิด ทำผิด มันจะถูกลงโทษเพียงอย่างเดียวคือ เกรดหรือผลการเรียนจะออกมาไม่ดีหรือไม่ก็ติดเอฟ (F) ต้องไปลงทะเบียนเรียนใหม่กับเด็กรุ่นน้อง บางคนก็ไม่ถือเพราะหน้าด้าน บางคนเครียดมากเพราะอายกับการที่จะต้องไปเรียนกับรุ่นน้อง
ชีวิตวัยเรียนมีเรื่องให้เครียดปวดสมองไม่กี่เรื่อง นอกนั้นเป็นเรื่องสนุกสนานเฮฮาปาร์ตี้เสียเป็นส่วนใหญ่ บางคนถึงกับไม่อยากจบออกมา เพราะยังอยากสนุกกับชีวิตในช่วงวัยนี้ต่อไปอีก แต่เมื่อถึงเวลาจบก็ต้องจบ อยู่ที่ว่าตอนจบของช่วงวัยจะจบออกมาดี หรือจบออกมาแบบไม่ได้เรื่อง ซึ่งจะถูกนำไปพิสูจน์ต่อไป ในช่วงชีวิตวัยทำงาน