Th Top Story

Th Top Story

Recent Posts

Loading...
Loading...

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562

หนุ่มใจถึง ตัดสินใจชื้อ บ้านผีสิง กลับเจอเสียงแปลกๆ แต่ไม่สนเปลี่ยนโฉมเป็นบ้านใหม่

หนุ่มใจถึง ตัดสินใจชื้อ บ้านผีสิง กลับเจอเสียงแปลกๆ แต่ไม่สนเปลี่ยนโฉมเป็นบ้านใหม่,หนุ่มใจถึง ตัดสินใจชื้อ บ้านผีสิง กลับเจอเสียงแปลกๆ แต่ไม่สนเปลี่ยนโฉมเป็นบ้านใหม่


เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่แปลกเอามากๆ แต่ก็ต้องบอกว่า หนุ่มคนดังกล่าวนั้นก็ใจถึงสุดๆเช่นกัน สำหรับเรื่องเล่าของหนุ่มในเว็ปไซต์ pantip ที่ใช้ชื่อว่า สมาชิกหมายเลข 1415794 โดยระบุเรื่องราวว่า
เรื่องราวมันเริ่มจากที่ผมรักในชีวิตกลางแจ้ง ท่องเที่ยวไปยังป่าเขาลำเนาไพรต่างๆ จนผมได้ค้นพบว่า ไม่มีป่าที่ใดในเมืองไทยที่รู้สึกดิบ ลึกลับน่าผจญค้นหา ไปมากกว่าผืนป่าตะวันตกของประเทศ ที่มีขนาดมหึมาครอบคลุมติดต่อกันหลายจังหวัดต่อเนื่องเข้าไปยังฝั่งของประเทศพม่า ความลึกลับต้องมนต์นี้เอง ที่สร้างแรงบัลดาลใจให้ตัวละครในนิยายเดินป่าอมตะหลายๆเรื่องอย่าง ล่องไพร สมิงไพร และเพชรพระอุมา เข้าไปผจญภัยเสี่ยงโชค ด้วยความหวังที่จะได้เจอสมบัติล้ำค่ากลางป่าลึก ซึ่งสำหรับตัวผมแล้ว สิ่งที่ได้เจอก็คือบ้านหลังนี้นั้นเอง

จำคร่าวๆได้ว่า เมื่อฤดูฝนประมานสามสี่ปีที่แล้ว ผมได้เดินทางท่องเที่ยวไปทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติผืนใหญ่ ด้วยความที่ไม่คุ้นเส้นและสภาพความเป็นป่าทำให้การจะสอบถามทางจากชาวบ้านทำได้ลำบากเพราะไม่ค่อยจะมีบ้านเรือนเท่าใดนัก จึงได้พึ่งพาการนำทางของเจ้า Google Map

ตอนนั้นหลังจากเที่ยวถ้ำละว้าเสร็จก็อยากจะเดินทางต่อไปยังอำเภอทองผาภูมิ นั้นจึงจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมมาพบบ้านหลังนี้ ผมขับรถตามทาง Google ไปเรื่อยๆจากสภาพสองข้างทางที่เป็นสวนปาล์ม สวนยาง ผ่านหมู่บ้านคนบ้างประปราย ก็เปลี่ยนเป็นป่าทึบในเขตอุทยานแห่งชาติ มีหน้าผาหินปูนสูงชั้นขนาบรอบทิศ แล้วในที่สุดมันก็พาผมมาสุดที่ริมตลิ่งของแม่น้ำแควน้อย ซึ่งสภาพที่เห็นนั้นสะพานในแผนที่มันพังสลายไปนานแล้ว ด้วยความรู้สึกที่ทั้งกังวล ทั้งเจ็บใจ และทั้งกลัว แม้จะเห็นเห็นเสาสัญญานมือถืออยู่ลิบๆ บนหน้าผาฝั่งตรงข้าม ซึ่งหมายถึงโลกแห่งความเจริญเบื้องหน้า แต่เราก็ไม่สามารถข้ามไปได้ จึงต้องตัดสินในย้อนกลับทางเดิม
และเมื่อขณะที่กำลังกลับรถอยู่นั้นเอง สายตาก็เหลือบไปเห็นป้ายปริศนาสีขาวๆแถบน้ำเงินมีตราสัญลักษณ์ธนาคารแห่งหนึ่งห้อยติดอยู่กับต้นไม้รกทึบ จึงพยายามเพ่งเข้าไปทางด้านหลัง ก็เห็นเงาลางๆของสิ่งปลูกสร้างทมึนๆอยู่ใต้เงาไม้ที่รกทึบ จังหวะนี่เองที่สัญชาตญาณดิบของนักลงทุน มันบอกว่าให้ลุยเข้าไปดูให้แน่ซิว่า มันคืออะไร อาจจะเป็นซากเมืองมรกตที่เขาตามหากันในนิยายก็เป็นได้

และนี้คือสิ่งที่ผมเจอครับ

สภาพรอบๆ เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง

กองหินข้างล่างนี้ อาจเคยเป็นน้ำพุ

ในใจก็นึก ใครหนอช่างสรรหาทำเล ใจกลางป่าลึกอย่างนี้ ยังมาสร้างเอาไว้ซะอลังการ เดินสำรวจอ้อมมาทางหน้าบ้าน สภาพก็เป็นอย่างที่เห็นครับ  มุมนี้เห็นแล้วตกหลุมรักเลย หุ่นเป๊ะ โครงเป๊ะ จับอาบน้ำสักหน่อย ออกมาน่าจะสวยเลย งานคุณภาพโครงสร้างวัสดุยุค 80s อารมณ์ Log Home
เมื่อโอนที่ดินเสร็จ ก็ทำให้รู้ประวัติคร่าวๆครับว่าตัวบ้านขออนุญาติปลูกสร้างในปี 2530 ซึ่งอันที่จริงก็พอจะเดาได้จากงานสถาปัติย์ของตัวบ้านครับ ทั้งหินกาบเอย หลังคากระเบื้องดินขอเอย เป็นอะไรที่นำเทรนยุค Post-Modern แห่งยุค 1980's แบบสุดๆ สมัยนั้นฮิตมาก เหมือนที่ยุคนี้เขาฮิต Loft กัน


สิ่งหนึ่งที่ผมชอบบ้าน อาคารที่ถูกสร้างในยุค 80's กับ 90's ต้นๆก็คือ สมัยนั้นเศรษฐกิจมันดีมากครับ และคนส่วนใหญ่ก็คิดว่าสิ่งดีๆเหล่านั้นมันจะดีขึ้นเรื่อยๆ และจะยั่งยืนตลอดไป ชีวิตมันจะเป็นแบบนั้นตลอดไป แล้วมันก็สะท้อนมาในงานสถาปัตย์ที่ บ้าน อาคารจึงถูกออกแบบให้เสมือนว่ามันจะต้องอยู่ตลอดไป คุณภาพวัสดุที่ไม่มีอั้น แล้วมันก็เลยทำให้อาคารเหล่านี้อยู่มาได้นาน ทั้งๆที่บางครั้งถูกละเลยด้วยซ้ำ ถ้าใครไม่เกี่ยงเรื่องตามแฟชั่น ก็อยากแนะนำให้มองหาบ้านยุคนี้ดูไว้ครับ ราคา VS คุณภาพส่วนใหญ่ถือว่าคุ้มค่าครับ (ปล.มันแล้วแต่คนสร้างด้วยนะครับเรื่องคุณภาพ แต่ส่วนใหญ่จะดี)
เล่าประวัติบ้านเสร็จก็นำเหล่าทหารกล้ามาลุยต่อครับ

สางต้นไม้รอบๆบ้าน เก็บต้นใหญ่ๆหน้า สี่นิ้วขึ้นไปไว้เพื่ออนุรักษณ์ธรรมชาติ เอาเถาวัลย์กับหญ้ารกๆออกก่อน

ต่อมาหลังจากถางรอยๆบ้านเสร็จก็ เริ่มซ่อมหลังคาครับ เรื่องนี้สำคัญมาก บ้านส่วนใหญ่จะร้างไม่ว่า ขออย่างเดียวอย่าให้น้ำเข้าบ้านครับ จะร้างกี่ปีก็มีแค่ฝุ่นจับ แต่ถ้าน้ไเข้านี่ เตรียมลาโลกได้เลย ซื้อมาปุ๊บจึงต้องรีบซ่อมหลังคาก่อน

กระเบื้องดินขอแบบนี้ราคาต่อตารางเมตรสูงอยู่ครับ เพราะต้องวางแปถี่ และตัวกระเบื้องเองอย่างดีก็ราคาประมาน 7 บาทต่อแผ่น ตารางเมตรนึงใช้ 150 แผ่น เบ็จเสร็จ ค่าของ + แรง ก็ประมาน 1800 บาทครับ เทียบกับลอนคู่ที่ประมาน 200+ บาท และซีแพคที่ 400+บาทต่อตารางเมตร แค่ถ้าใครอยากได้ลุคนี้ ก็ขอแนะนำพวก ตราช้าง ไอยราก็ได้ครับ มุงแล้วดูคล้ายๆกัน เรื่องรั่วซึมก็น้อยกว่า ราคาก็ตกอยู่ประมานที่ 1000+ บาทต่อตารางเมตร อันนี้ถ้าไม่ใช่มากับบ้านอยู่แล้ว ผมก็คงไม่ใช่ครับ ยกเว้น คน ชอบจริงๆ
พอซ่อมหลังคาเสร็จ เราก็มาเริ่มทำภายในบ้านกันต่อครับ ของเดิมเขาใช่ฝ้ายิปซั่มตีไว้ ถ้าโดนน้ำนิดเดียวก็เสียหายแล้ว พอมาซ่อมใหม่ก็เลยเจาะจงใช้เป็นพวก ไฟเบอร์ซีเมนต์ครับ เพราะในอนาคตถ้าหลังคารั่วบ้าง ฝ้าก็จะไม่เสียหายเท่านยิปซั่ม ระยะยาวค่าดูแลรักษาน่าจะน้อยกว่า
งานระเบียงพื้นนี้ น่าจะเป็นงานใหญ่สุดแล้วของหลังนี้ เริ่มด้วยการรื้อไม้ผุๆ เดิมออก เจ้าของเดิมเขาสร้างเป็นระเบียงไม้จริง ยื่นออกมาหน้าบ้านทางฝั่งแม่น้ำ เป็นส่วนโล่ง ไม่มีหลังคาคลุมครับ ระยะเวาลากว่า 30 ปี ต่อให้เป็นไม้เนื้อแข็ง ไม้แดง มันก็ผุกร่อนไปตามการเวลา ของใหม่ผมก็เลยใส่หลังคาโปร่งแสงคลุมไปครับ กะจะปลูกไม้เลื้อย พวกเล็บมือนางให้เลื้อยคลุมให้ร่มเงา
ส่วนเรื่องประวัติตัวบ้านไม่มีอะไรมากครับ เขาสร้างไว้สมัยฟองสบู่ฟู่ฟ่า แล้วพอฟองสบู่แตกปี 40 ธนาคารก็ฟ้อง ปี 45 ก็ยึดขายทอดตลาดแล้วก็ร้างตั้งแต่นั้นมา ราคาจำนองตอนแรกสุดสมัยนั้นกับธนาคาร 5,000,000 บาทถ้วนครับ
เรื่องความขี้เหนียวยังไม่จบครับ ไปเดินดูตู้ cupboard อารมณ์ rustic หน่อยๆตามร้านเฟอร์พวก อินเด็กซ์ เอสบี คริสตัล แล้วหน้ามืดกับราคา หลักหมื่นกว่าๆ ไปจนถึงแสนกว่าบาท ไอ้เราเดินไปก็งงไปครับ ว่ามันจะอะไรกันนักหนา บางตัวก็โครงไม้สน ไม้ยางจอยท์ธรรมดาด้วยซ้ำ แล้วก็บังเอิญเจอเพื่อนบ้านเขาจะทิ้งตู้กับข้าวยุค 90s ของเขาอยู่พอดี เลยขอซื้อต่อมาในราคา 800 บาทครับ
สภาพที่ได้มาก็ประมานนี้ ข้อดีของเฟอร์ยุคนั้นก็คือโครงด้านในยังนิยมใช้ไม้สักอยู่ ถึงผิวด้านนอกจะนิยมพวก Formica ที่ไม่ค่อยคงทนเท่าไร แต่ก็ยังดีกว่าของยุคหลังจากนั้นมาที่ เป็นไม้ MDF บ้าง HDF บ้าง ไม้ยางจอยท์บ้าง ที่พอจะเดาได้ว่าไม่น่าเกิน 20 ปีคงต้องหาใหม่

เรียกได้ว่านี่ยังเป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้น และต้องบอกว่า พอส้รางเสร็จแล้วนั้น น่าเข้าไปอยู่เป็นอย่างมาก

Loading...
Please update your ads.txt fil